หลักสูตร

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาวิทยาเอ็นโดดอนต์ หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564
(รายละเอียดหลักสูตร)

ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย     : หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาวิทยาเอ็นโดดอนต์
ภาษาอังกฤษ : Graduate Diploma of Clinical Sciences Program in Endodontics

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม(ภาษาไทย)     : ประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก(วิทยาเอ็นโดดอนต์)
ชื่อเต็ม(ภาษาอังกฤษ) : Graduate Diploma of Clinical Sciences (Endodontics)
ชื่อย่อ(ภาษาไทย)       : ป.บัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก(วิทยาเอ็นโดดอนต์)
ชื่อย่อ(ภาษาอังกฤษ)   : Grad. Dip. of Clin. Sc. (Endodontics)

รูปแบบของหลักสูตร
เป็นหลักสูตรระดับประกาศนียบัตร ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552

ภาษาที่ใช้
ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง

เผยแพร่ ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2564

การรับเข้า

ช่องทางการรับเข้า

ช่วงเวลาเปิดรับสมัคร ติดตามได้ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร
https://www.admission.graduate.nu.ac.th

คุณสมบัติและเงื่อนไขการเป็นนิสิต

1. คุณสมบัติทั่วไป
1.1 ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษา ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
1.2 ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้จำคุกเว้นแต่ในกรณีความผิดอันได้กระทำโดยความประมาท หรือความผิดอันเป็นลหุโทษ
1.3 ไม่เคยถูกคัดชื่อออกอันเนื่องมาจากความประพฤติจากสถาบันการศึกษาใด
1.4 ร่างกายแข็งแรงและไม่เป็นโรค หรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
2. คุณสมบัติิเฉพาะของผู้สมัคร
ติดตามได้ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร
https://www.admission.graduate.nu.ac.th

ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ

– เป็นไปตามประกาศอัตราค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร
https://www.admission.graduate.nu.ac.th/grad/grad_fee
– เป็นไปตามเงื่อนไขการรับสมัครในแต่ละปี

โครงสร้างหลักสูตรและแผนการศึกษา

โครงสร้างหลักสูตร

แผนการศึกษา
รายละเอียด

การจัดการศึกษา

ความจำเป็นและความสำคัญของหลักสูตร

จุดเด่นที่ทำให้หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์แตกต่างจากหลักสูตรอื่นที่เกี่ยวข้อง คือ มุ่งพัฒนาทักษะเชิงวิชาชีพด้านวิทยาเอ็นโดดอนต์ เน้นการดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวม (Holistic care) ดูแลโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Patient-centered care) ภายใต้การทำงานอย่างเป็นพหุสาขา (Multidisciplinary approach) และเน้นการพัฒนาความรู้และทักษะทางวิทยาเอ็นโดดอนต์ที่ซับซ้อน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนและผู้ป่วยที่มารับบริการ โดยหลักสูตรได้จัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนทักษะด้านการรักษาผู้ป่วยในคลินิกวิทยาเอ็นโดดอนต์ให้แก่ผู้เรียน ภายใต้การนิเทศงานของอาจารย์ ซึ่งจะทำให้นิสิตได้พัฒนาทักษะพิสัยทางวิชาชีพจากสถานการณ์จริง และผู้ป่วยที่มารับบริการได้รับการดูแลรักษาอย่างเป็นระบบ มีคุณภาพ และได้มาตรฐานสากล นอกจากนี้ จากการที่กระบวนการจัดการเรียนการสอนมีการให้บริการทางทันตกรรมแก่ผู้ป่วย ทำให้ค่ารักษาทางทันตกรรมที่เกิดขึ้น เป็นรายได้ส่วนหนึ่ง (นอกไปจากค่าธรรมเนียมการศึกษา) ของคณะทันตแพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดทั้งด้านการเรียนการสอนและการให้บริการได้

ระบบการจัดการศึกษา

ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ

ปรัชญา

มุ่งสร้างบัณฑิตระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก ที่มีศักยภาพในการบุรณาการองค์ความรู้จากหลากสาขาวิชา มาผสมผสานใช้ในการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ให้เกิดองค์ความรู้เชิงกว้างและเชิงลึกทางวิทยาเอ็นโดดอนต์ และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาทันตสุขภาพของประชาชน รวมทั้งเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมตามจรรยาบรรณวิชาชีพ

วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะ ดังนี้

1. มีความรู้และทักษะในการรักษาทางวิทยาเอ็นโดดอนต์ ตามมาตรฐานระดับสากล ภายใต้คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
2. สามารถคิดวิเคราะห์ เสนอแนวทางแก้ปัญหา ตัดสินใจ และให้คำปรึกษาทางวิชาการหรือวิชาชีพร่วมกับสาขาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องใน   การดูแลผู้ป่วยแบบพหุวิทยาการ
3. สามารถรวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ และถ่ายทอดความรู้ทางวิทยาเอ็นโดดอนต์ในรูปแบบงานวิชาการที่ถูกต้อง
4. เรียนรู้และพัฒนาตนเอง โดยติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ วิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางวิทยาเอ็นโดดอนต์ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติอย่างสม่ำเสมอ

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs)

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังด้านความรู้และทักษะทั่วไป (Generic Outcome, G)
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังด้านความรู้และทักษะเฉพาะทาง (Specific Outcome, S)
โดยผู้สำเร็จการศึกษา มีคุณลักษณะดังนี้
ELO1 (S) ประพฤติตนภายใต้หลักคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
ELO2 (S) อธิบายองค์ความรู้ในศาสตร์วิทยาเอ็นโดดอนต์เชิงลึกและเชิงกว้าง และบูรณาการองค์ความรู้ร่วมกับสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องในแบบพหุวิทยาการ
ELO3 (S) วิเคราะห์และสังเคราะห์ปัญหาทางวิชาการอย่างมีระบบ มีเหตุผล และสร้างสรรค์ และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ความเข้าใจในการแก้ปัญหาและตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ELO4 (S) เรียนรู้และพัฒนาตนเองด้านวิชาการอย่างสม่ำเสมอ
ELO5 (G) เคารพกฎระเบียบ ข้อบังคับขององค์กรและสังคม มีความซื่อสัตย์ มีระเบียบวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
ELO6 (S) ปฏิบัติงานร่วมกับทันตบุคลากร/บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ELO7 (S) ใช้เทคโนโลยีในการสืบค้น รวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลความก้าวหน้าทางวิชาการ วิจัย และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์ได้อย่างเป็นระบบ
ELO8 (S) ถ่ายทอดความรู้ ด้วยการเขียน/นำเสนอ/อภิปราย ในรูปแบบงานวิชาการที่มีการอ้างอิงอย่างถูกต้อง
ELO9 (S) ใช้การสื่อสารในการให้คำปรึกษาทางการแพทย์กับผู้ป่วย/ผู้ร่วมงาน/ทันตบุคลากร/บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ELO10 (S) ปฏิบัติงานคลินิกในการตรวจ วินิจฉัย วางแผนการรักษา และทำการรักษาผู้ป่วยเบื้องต้นถึงซับซ้อนทางวิทยาเอ็นโดดอนต์ได้อย่างเหมาะสมตามมาตรฐานระดับสากล
ELO11 (S) ปฏิบัติงานคลินิกในการให้คำปรึกษาแก่ทันตแพทย์ที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วย และให้ความร่วมมือวางแผนการรักษา และให้การรักษาร่วมกับทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่นในแบบพหุวิทยาการได้อย่างดี

สถิตินิสิตทันตแพทย์

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาวิทยาเอ็นโดดอนต์ เป็นหลักสูตรใหม่ เปิดรับนิสิตในปีการศึกษา 2564 เป็นปีแรก มีนิสิตจำนวน 6 คน

Loading