หลักสูตร
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก
(รายละเอียดหลักสูตร)
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก
ภาษาอังกฤษ : Graduate Diploma of Clinical Sciences Program in Pediatric Dentistry
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม(ภาษาไทย) : ประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (ทันตกรรมสำหรับเด็ก)
ชื่อเต็ม(ภาษาอังกฤษ) : Graduate Diploma of Clinical Sciences (Pediatric Dentistry)
ชื่อย่อ(ภาษาไทย) : ป.บัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (ทันตกรรมสำหรับเด็ก)
ชื่อย่อ(ภาษาอังกฤษ) : Grad. Dip. of Clin. Sci. (Pediatric Dentistry)
รูปแบบของหลักสูตร
เป็นหลักสูตรระดับ 3 (ประกาศนียบัตรบัณฑิต) ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2552
ภาษาที่ใช้
ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบันฯ ที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง
การรับเข้า
ช่องทางการรับเข้า
ช่วงเวลาเปิดรับสมัคร ติดตามได้ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร
https://www.admission.graduate.nu.ac.th
คุณสมบัติและเงื่อนไขการเป็นนิสิต
1. ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษา ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
2. สำเร็จการศึกษาทันตแพทยศาสตรบัณฑิต และต้องได้รับใบประกอบวิชาชีพทันตกรรม
3. มี GPA ไม่ต่ำกว่า 2.75
4. ปฏิบัติงานทางทันตกรรมมาแล้วเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี ก่อนวันเปิดภาคการศึกษา พร้อมแนบหลักฐาน
5. กรณีที่ผู้สมัครปฏิบัติงานในหน่วยงานของทางราชการ ผู้สมัครต้องได้รับอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้บังคับบัญชาของหน่วยงาน ในระดับไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการ
คุณสมบัติเพิ่มเติม ติดตามได้ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร
https://www.admission.graduate.nu.ac.th
ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ
– เป็นไปตามประกาศอัตราค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร
https://www.admission.graduate.nu.ac.th/grad/grad_fee
– เป็นไปตามเงื่อนไขการรับสมัครในแต่ละปี
โครงสร้างหลักสูตรและแผนการศึกษา
โครงสร้างหลักสูตร
แผนการศึกษา
รายละเอียด
การจัดการศึกษา
ความจำเป็นและความสำคัญของหลักสูตร
จุดเด่นของหลักสูตรหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก ของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คือ มุ่งเน้นการปฏิบัติงานดูแลรักษาผู้ป่วยเด็ก โดยจัดการเรียนการสอนในรายวิชาคลินิกถึง 10 หน่วยกิต และเน้นการถ่ายทอดความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและทันตกรรมป้องกันในเด็กให้แก่บุคลากรด้านสาธารณสุขและชุมชน จากการที่หลักสูตรมีรายวิชาที่ส่งเสริมให้บัณฑิตมีจิตวิญญาณของนักสร้างเสริมสุขภาพ ให้นิสิตจัดทำโครงงานเพื่อฝึกทักษะและกระบวนการที่ทำให้บัณฑิตเข้าใจการปฏิบัติงานร่วมกับบุคลากรด้านอื่น ๆ ในโรงพยาบาล และหน่วยงานต่าง ๆ ของชุมชน มีจริยธรรม ความเมตตา และรู้จักการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในงานทันตกรรมป้องกันและการสร้างเสริมสุขภาพ
ระบบการจัดการศึกษา
ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ และ 1 ภาคการศึกษามีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
ปรัชญา
ผลิตทันตแพทย์ที่มีทักษะในการให้บริการทางทันตกรรมแก่ประชากรเด็ก และผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ร่วมกับสหสาขาวิชาชีพได้
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะ ดังนี้
1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถให้การรักษาทางทันตกรรมในผู้ป่วยเด็กในเด็กทั่วไป เด็กวัยปฐมวัย และผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ได้ตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านทันตกรรมป้องกัน แก่ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก เด็ก ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ บุคลากรด้านสาธารณสุข และบุคคลทั่วไปได้อย่างถูกต้อง
3. เพื่อให้บริการทางทันตกรรมสำหรับเด็กและผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs)
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังด้านความรู้และทักษะทั่วไป (Generic Outcome, G)
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังด้านความรู้และทักษะเฉพาะทาง (Specific Outcome, S)
โดยผู้สำเร็จการศึกษา มีคุณลักษณะดังนี้
ELO1 (G,S) สามารถอธิบายคำศัพท์ นิยาม และกฎระเบียบ รวมถึงแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมตามข้อบังคับองค์กรและสังคม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
ELO2 (S) สามารถอธิบายองค์ความรู้และนวัตกรรมทางทันตกรรมสำหรับเด็กและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และประยุกต์ความรู้ไปใช้ในการให้บริการทางทันตกรรมรวมถึงการให้ทันตกรรมป้องกันแก่ผู้ป่วยและผู้ปกครองได้
ELO3 (S) วิเคราะห์ แก้ปัญหาในงานทันตกรรมสำหรับเด็กได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ
ELO4 (S) สามารถให้บริการทางทันตกรรมองค์รวมตามหลักวิทยาการแก่ผู้ป่วยเด็กทั่วไปและผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ โดยคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
ELO5 (S) สามารถสื่อสารและนำเสนอข้อมูลทางทันตกรรมสำหรับเด็กและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องให้บุคลากรสหวิชาชีพเข้าใจได้ดี และสามารถร่วมงานกับทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีคุณภาพ
ELO6 (S) สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในสืบค้น ถ่ายทอดความรู้ด้านทันตกรรมป้องกันและการสร้างเสริมสุขภาพแก่ผู้ป่วย ผู้ปกครอง บุคลากรด้านสาธารณสุขและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในชุมชนได้
สถิตินิสิตทันตแพทย์
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก เป็นหลักสูตรใหม่ เปิดรับนิสิตในปีการศึกษา 2565 เป็นปีแรก โดยมีจำนวนนิสิตดังต่อไปนี้
ปีการศึกษา |
จำนวน (คน) |
2565 |
2 |
2566 |
2 |