ภาควิชาชีววิทยาช่องปาก

         ภาควิชาชีววิทยาช่องปากเป็นหน่วยงานภายในคณะทันตแพทยศาสตร์ที่จัดการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งมีภารกิจหลักในการพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตแพทยศาสตร์จากงานวิจัยและสนับสนุนการเรียนการสอนของคณะฯ โดยได้ร่วมมือกับหน่วยงานภายในคณะฯ และมหาวิทยาลัยนเรศวร และแสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างโครงข่ายในการพัฒนาความรู้และนวัตกรรมทางทันตแพทยศาสตร์ และเพื่อเป็นประโยชน์ในการเรียนการสอนของภาควิชาฯ ซึ่งในปัจจุบัน มีหัวข้องานวิจัยในหลายสาขาวิชาที่ภาควิชาฯให้ความสนใจ เช่น เซลล์และชีววิทยาระดับโมเลกุล การพัฒนาของบริเวณศีรษะและใบหน้า และทันตวัสดุศาสตร์ เป็นต้น ภาควิชาฯได้จัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาที่มีความสอดคล้องกับหัวข้องานวิจัยเหล่านี้ เพื่อให้มีความรู้ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น และเพื่อทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์ความรู้และนำไปสู่การพัฒนาการรักษาทางทันตกรรม นอกจากนี้ ภาควิชาฯได้จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ในรูปแบบของการศึกษาด้วยตนเองและการสัมมนา เพื่อทำให้นิสิตทันตแพทย์มีโอกาสในการฝึกการนำเสนอทางวิชาการ และได้ทบทวนความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อนำไปเชื่อมโยงกับความรู้ในทางคลินิกและไปประยุกต์ใช้ในการจัดการและรักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภารกิจหลักของภาควิชาชีววิทยาช่องปากสนับสนุนนโยบายของคณะทันตแพทยศาสตร์ และมหาวิทยาลัยนเรศวรที่จะพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัยและนวัตกรรมระดับแนวหน้าของประเทศไทย รวมถึงการศูนย์กลางทางบริการวิชาการในระดับภูมิภาคภาคเหนือตอนล่าง

          The Oral Biology department offers interdisciplinary courses for undergraduate and graduate students in the Dental School. Research in orofacial area is principle knowledge for advance dental treatments; therefore the department in collaboration with other units in the faculty and university develops the graduate programme in Oral Biology. There is a wide range of studies in the programme including cellular and molecular biology, craniofacial development and dental material science. For the undergraduate dental student, the department manipulates lecture and self-study based seminar courses which formulate understanding in pre-clinical and clinical knowledge connection. The self-study and seminar courses provide simulated and actual patient contexts. The students are not only able to discuss about treatment plans for the patients, but they can also develop their expertise to apply the knowledge with other cases.

         These accomplishments of the department also encourage faculty and university missions and services to become research and innovation-based university and have social responsibility in the sub-northern region of Thailand.

ปรัชญา

ภาควิชาชีววิทยาช่องปาก เป็นหุ้นส่วนสำคัญในการผลิตทันตแพทย์และทันตบุคลากรที่มีคุณภาพ โดยให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานทางชีววิทยาช่องปาก จริยธรรม คุณธรรม และภาษาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรม และเป็นแกนนำในการผลิตนักวิจัยด้านชีววิทยาช่องปาก

ปณิธาน
ความรู้พื้นฐานดี งานวิจัยเด่น เน้นการเชื่อมโยงความรู้ ควบคู่งานคลินิก ปลูกจิตสำนึกคุณธรรม

วิสัยทัศน์
ภาควิชาชีววิทยาช่องปากมุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานทางชีววิทยาช่องปาก การวิจัย ภาษาและสังคมศาสตร์บนพื้นฐานของคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ

พันธกิจ
1. จัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานทางชีววิทยาช่องปาก เพื่อให้ทันตแพทย์และทันตบุคลากร มีความรู้ความสามารถในการอธิบายกระบวนการเกิดโรค และสามารถเชื่อมโยงความรู้ทางคลินิกในการวางแผนการรักษาด้านทันตกรรมได้อย่างถูกต้อง
2. จัดการเรียนการสอนทางภาษาและสังคมศาสตร์เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ในการใช้ภาษาอังกฤษทาง ทันตกรรมและปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ
3. จัดการเรียนการสอนระดับปริญญาบัณฑิต มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถด้านการวิจัยทางชีววิทยาช่องปาก
4. ให้ความร่วมมือกับคณะทันตแพทยศาสตร์ในด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการบริการวิชาการสู่สังคม

เป้าประสงค์
1. เป็นหุ้นส่วนในการผลิตทันตแพทย์และทันตบุคลากรให้มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานทางชีววิทยาช่องปากควบคู่งานคลินิกในการตรวจวินิจฉัยและการวางแผนการรักษาด้านทันตกรรมให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
2. เป็นหุ้นส่วนในการผลิตทันตแพทย์ให้มีความรู้ในการใช้ภาษาอังกฤษทางทันตกรรมเพื่อเสริมทักษะการสื่อสารวิชาการด้านทันตแพทยศาสตร์ และความรู้ทางสังคมศาสตร์เพื่อการประกอบวิชาชีพที่ดีงามบนพื้นฐานแห่งคุณธรรม จริยธรรม
3. ผลิตบัณฑิตระดับปริญญาบัณฑิต มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถด้านการวิจัยทางชีววิทยาช่องปากและผลิตผลงานวิจัยที่ตอบสนองกับปัญหาทันตสุขภาพของประเทศ
4. มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทยร่วมกับคณะทันตแพทยศาสตร์

นโยบายหลัก
ภาควิชาชีววิทยาช่องปากมีนโยบายที่มุ่งเน้นกระบวนการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการศึกษาหาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานทางชีววิทยาช่องปากและสามารถเชื่อมโยงความรู้ทางคลินิกในการวางแผนการรักษาผู้ป่วยอย่างถูกต้องร่วมกับเสริมทักษะกระบวนการคิดและค้นคว้าหาความรู้ใหม่โดยอาศัยการวิจัยเป็นพื้นฐาน

นโยบายด้านการเรียนการสอน
1. ส่งเสริมให้ทันตแพทย์มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานทางชีววิทยาช่องปากผสมผสานไปกับความรู้ทางด้านคลินิก
2. ส่งเสริมให้ทันตแพทย์มีทักษะทางการใช้ภาษาอังกฤษทางทันตกรรมและมีคุณธรรม จริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ
3. ส่งเสริมการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาบัณฑิต มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตที่ถึงพร้อมในคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้ความสามารถในการวิจัยสาขาชีววิทยาช่องปาก
4. สนับสนุนการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง ให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ

นโยบายด้านการวิจัย
1. สนับสนุนให้อาจารย์ นิสิตและบุคลากรร่วมกันดำเนินการวิจัย ที่สอดคล้องไปกับนโยบายด้านการวิจัยของคณะฯ เพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านการวิจัยในองค์กร ทั้งการวิจัยเพื่อการเรียนการสอนและการวิจัยเพื่อค้นหาความรู้ใหม่
2. สนับสนุนให้มีการดำเนินงานวิจัย การแสวงหาแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยทั้งภายในและภายนอกและเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่สาธารณชนอย่างต่อเนื่อง

นโยบายการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
1. ภาควิชาฯ มีส่วนร่วมในการจัดสรรปัจจัยเกื้อหนุนด้านการเรียนการสอนและการวิจัยที่สอดคล้องกับนโยบายการจัดสรรปัจจัยเกื้อหนุนของคณะฯ อย่างต่อเนื่อง
2. ภาควิชาฯ สนับสนุนการใช้ทรัพยากรการวิจัยและการเรียนสอนร่วมกันทั้งภายในและภายนอกสถาบันโดยภายในสถาบันสนับสนุนให้มีการใช้ครุภัณฑ์เพื่อการวิจัยในหน่วยปฏิบัติการวิจัยและโรงพยาบาลทันตกรรม

นโยบายด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
ดำเนินงานประกันคุณภาพตามแนวทางของคณะฯ และนำมาเป็นกลไกในการควบคุมและปรับปรุงการดำเนินงานของภาควิชาฯ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

นโยบายด้านการจัดการความรู้
ส่งเสริมการนำการจัดการความรู้เข้ามามีส่วนในการจัดการเรียนการสอน สนับสนุนงานโครงการต่างๆ ที่ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในภาควิชาฯ และคณะฯ

นโยบายด้านการบริการวิชาการ
ส่งเสริมและให้บริการทางวิชาการในด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานและการวิจัยทางชีววิทยาช่องปาก อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานย่อยของคณะฯ ที่ร่วมให้บริการวิชาการทางทันตแพทยศาสตร์ในเขตภาคเหนือตอนล่าง

นโยบายด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ส่งเสริมและให้ความร่วมมือกับคณะทันตแพทยศาสตร์ ในการจัดกิจกรรมหรือโครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

ผลงานวิจัยระดับนานาชาติ (International publications)

2018

Kornchanok Wayakanon, Kanjana Rueangyotchanthana, Praween Wayakanon, Chatrudee Suwannachart. The inhibition of Caco-2 proliferation by astaxanthin from Xanthophyllomyces dendrorhous. J Med Microbiol. 2018 Apr;67(4):507-513. (Link)

2017

Kriangkrai R, Chareonvit S, Iseki S, Limwongse V. Pretreatment effect of folic acid on 13-CIS-RA-induced cellular damage of developing midfacial processes in cultured rat embryos. Open Dentistry Journal. 2017;11:200-212. (Scopus) (Link)

Savelyeva N, Allen A, Chotprakaikiat W, Harden E, Jobsri J, Godeseth R, Wang Y, Stevenson F.K, Ottensmeier C. Linked CD4 T Cell help: Broadening immune attack against cancer by vaccination. Current Topics in Microbiology and Immunology. 2017;405:123–143. (PubMed, Scopus) (Link)

2016

Chuenjitkuntaworn, B., Osathanon, T., Nowwarote, N., Supaphol, P., & Pavasant, P. (2016). The efficacy of polycaprolactone/hydroxyapatite scaffold in combination with mesenchymal stem cells for bone tissue engineering. J Biomed Mater Res A, 104(1), 264-271. doi:10.1002/jbm.a.35558 (Link)

Chotprakaikiat, W., Allen, A., Bui-Minh, D., Harden, E., Jobsri, J., Cavallo, F., . . . Savelyeva, N. (2016). A plant-expressed conjugate vaccine breaks CD4+ tolerance and induces potent immunity against metastatic Her2+ breast cancer. OncoImmunology, e1166323. doi:10.1080/2162402X.2016.1166323

2015

Jobsri, J., Allen, A., Rajagopal, D., Shipton, M., Kanyuka, K., Lomonossoff, G. P., . . . Savelyeva, N. (2015). Plant virus particles carrying tumour antigen activate TLR7 and Induce high levels of protective antibody. PLoS One, 10(2), e0118096. doi:10.1371/journal.pone.0118096 (Link)

Chokboribal, J., Tachaboonyakiat, W., Sangvanich, P., Ruangpornvisuti, V., Jettanacheawchankit, S., & Thunyakitpisal, P. (2015). Deacetylation affects the physical properties and bioactivity of acemannan, an extracted polysaccharide from Aloe vera. Carbohydr Polym, 133, 556-566. doi:10.1016/j.carbpol.2015.07.039 (Link)

Prasitsak, T., Nandar, M., Okuhara, S., Ichinose, S., Ota, M. S., & Iseki, S. (2015). Foxc1 is required for early stage telencephalic vascular development. Developmental Dynamics, 244(5), 703-711. doi:10.1002/dvdy.24269 (Link)

2014

Jobsri J., Piluek W., Pesoongnern P., & Jamdee K. (2014). Porphyromonas gingivalis FimA Type II-PVXCP Fusion DNA Vaccine Expression in Mammalian cells. Srinakharinwirot University Dental Journal, 7(supplement): 35-42. (Link)

Osathanon, T., Chuenjitkuntaworn, B., Nowwarote, N., Supaphol, P., Sastravaha, P., Subbalekha, K., & Pavasant, P. (2014). The responses of human adipose-derived mesenchymal stem cells on polycaprolactone-based scaffolds: an in vitro study. Tissue Engineering and Regenerative Medicine, 11(3), 239-246. doi:10.1007/s13770-014-0015-x (Link)

2012

Wayakanon, P., Bhattacharjee, R., Nakahama, K.-i., & Morita, I. (2012). The role of the Cx43 C-terminus in GJ plaque formation and internalization. Biochemical and Biophysical Research Communications, 420(2), 456-461. doi:http://dx.doi.org/10.1016/j.bbrc.2012.03.018 (Link)

Yiemwattana, I., Ngoenkam, J., Paensuwan, P., Kriangkrai, R., Chuenjitkuntaworn, B., & Pongcharoen, S. (2012). Essential role of the adaptor protein Nck1 in Jurkat T cell activation and function. Clin Exp Immunol, 167(1), 99-107. doi:10.1111/j.1365-2249.2011.04494.x (Link)

2010

Chuenjitkuntaworn, B., Supaphol, P., Pavasant, P., & Damrongsri, D. (2010). Electrospun poly(L-lactic acid)/hydroxyapatite composite fibrous scaffolds for bone tissue engineering. Polymer International, 59(2), 227-235. doi:10.1002/pi.2712 (Link)

Chuenjitkuntaworn, B., Inrung, W., Damrongsri, D., Mekaapiruk, K., Supaphol, P., & Pavasant, P. (2010). Polycaprolactone/hydroxyapatite composite scaffolds: preparation, characterization, and in vitro and in vivo biological responses of human primary bone cells. J Biomed Mater Res A, 94(1), 241-251. doi:10.1002/jbm.a.32657 (Link)

2009

Jettanacheawchankit, S., Sasithanasate, S., Sangvanich, P., Banlunara, W., & Thunyakitpisal, P. (2009). Acemannan stimulates gingival fibroblast proliferation; expressions of keratinocyte growth factor-1, vascular endothelial growth factor, and type I collagen; and wound healing. J Pharmacol Sci, 109(4), 525-531. (Link)

2007

Jittapiromsak N., Jettanacheawchankit  S., Lardungdee  P., Sangvanich P., &  Thunyakitpisal P. (2007). Effect of acemannan on BMP-2 expression in primary pulpal fibroblasts and periodontal fibroblasts, in vitro study. J Oral Tissue Engin, 4: 149-154. (Link)

Sangsanoh, P., Waleetorncheepsawat, S., Suwantong, O., Wutticharoenmongkol, P., Weeranantanapan, O., Chuenjitbuntaworn, B., . . . Supaphol, P. (2007). In vitro biocompatibility of schwann cells on surfaces of biocompatible polymeric electrospun fibrous and solution-cast film scaffolds. Biomacromolecules, 8(5), 1587-1594. doi:10.1021/bm061152a (Link)

2006

Kriangkrai, R., Chareonvit, S., Yahagi, K., Fujiwara, M., Eto, K., & Iseki, S. (2006). Study of Pax6 mutant rat revealed the association between upper incisor formation and midface formation. Dev Dyn, 235(8), 2134-2143. doi:10.1002/dvdy.20875 (Link)

Kriangkrai, R., Iseki, S., Eto, K., & Chareonvit, S. (2006). Dual odontogenic origins develop at the early stage of rat maxillary incisor development. Anat Embryol (Berl), 211(2), 101-108. doi:10.1007/s00429-005-0068-7 (Link)
ผลงานวิจัยระดับชาติ (National publications)

2560

อภิวัฒน์ เศรษฐศุภพนา, กุลธิดา นันทยานนท์, ฐานิต ประสิทธิ์ศักดิ์, รัชวรรณ ตัณศลารักษ์, สิริโฉม สาตราวาหะ, ทศพล ปิยะปัทมินทร์. การศึกษาเปรียบเทียบการวัดขนาดความกว้างขากรรไกรระหว่างแบบพิมพ์ดิจิตอลและปลาสเตอร์. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2560;25(4):9-16. (TCI กลุ่ม 1) (Link)

2558

กิตตินันท์ จั่นตระกูลวัฒน์ ยาวี เมฆขำ ฤทธิไกร ณ ลำพูน นิรัชชา ไชยสมบูรณ์ ฐานิต ประสิทธิ์ศักดิ์ และ รุ่งอรุณ เกรียงไกร. ผลของเคอร์เซตินต่อความมีชีวิตและการตายแบบอะพอพโทสิสของเซลล์ออสทิโอซาร์โคมา ของมนุษย์ชนิด U2-OS ในห้องปฏิบัติการ. เชียงใหม่ทันตแพทยสาร. 2558; 36(1): 63-74.

2557

ฤดี สกุลรัชตะ รุ่งอรุณ เกรียงไกร และ Sabine Mai. การเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองและมะเร็งพลาสมาไซโตมาใน หนูเอสเอจากการกระตุ้นโดยพริสเตนและไวรัสวีเอเบิลมิค. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร: วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี. 2557. 22(1):35-44.

2556

กษมาภรณ์   รักอยู่  จงรัก นาคสีสุก อิศราภรณ์  ภมรสุพรวิชิต สุทธิมาส   หยวกยง อนุพันธ์ สิทธิโชคชัยวุฒิ และรุ่งอรุณ เกรียงไกร. ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของสารสกัดจากชะเอมเทศต่อ   เชื้อสเตร็พโตคอคคัส มิวแทนส์ และผลด้านความเป็นพิษต่อเซลล์ไฟโบร บลาสต์ในเหงือกของมนุษย์. เชียงใหม่ทันตแพทยสาร. 2556; 34(2): 107-116.

รุ่งอรุณ เกรียงไกร. ความรู้พื้นฐานและยีนที่เกี่ยวข้องกับการหายของฟันที่ไม่สัมพันธ์กับกลุ่มอาการของโรค. เชียงใหม่ทันตแพทยสาร. 2556; 34(1): 51-61.

2555

รุ่งอรุณ เกรียงไกร. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับฟันเกิน. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร. 2555. 20(3):111-126.

กุลวรัตน์ สิรินันทเกตุ มณฑาทิพย์  เกล็ดเครือมาศ วรวนิต สุวรรณบูลย์ อภิชาติ นาคยา  อุดม  ศศิกรวงศ์  และ รุ่งอรุณ เกรียงไกร. ผลของกรดโฟลิกต่อการแบ่งตัวของเซลล์ในโพรงประสาทฟันของมนุษย์. วารสารส่งเสริม สุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม. 2555; 35(4):121-128.

2552

ลลิตกร พรหมมา, ประวีณ วยัคฆานนท์, ณัฐธิดา ชะรัดรัมย์, พรเพ็ญ จิตติวรางกูล และ กุสุมา แจ่มดี. ค่าสัมประสิทธิ์ฟีนอลของน้ำยาทำลายเชื้อในโรงพยาบาลทันตกรรมมหาวิทยาลัยนเรศวร ต่อเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร  ปีที่ 17 ฉบับที่ 3  หน้า 263-268 พ.ศ.2552.

ชั้นปีที่ 4

ชั้นปีที่ 5


ชั้นปีที่ 6

 
แบบฟอร์มสำหรับนิสิตระดับปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาชีพชองปาก

Loading